4 เทคนิค สำหรับการทำงานวิจัย ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
ในหลายครั้งที่ผู้วิจัยมือใหม่รู้สึกท้อแท้หมดกําลังใจ เพราะว่าเพียงเริ่มต้นก็มีอุปสรรค ไม่เข้าใจในเนื้อหาที่ต้องทำงานวิจัยในแต่ละบท ไม่เข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์ที่ปรึกษาแนะนำ หรือไม่รู้ว่าควรจะเริ่มต้นดำเนินการทําวิจัยอย่างไร
ซึ่งจากนี้จะเป็นเทคนิคที่นิยมใช้สำหรับทำงานวิจัยให้สำเร็จได้โดยง่าย ที่ใครๆ ก็สามารถทำได้
1. ต้องดูว่าอยากแก้ไขปัญหาอะไร
ก่อนที่ท่านจะทำการศึกษาวิจัยเรื่องอะไรนั้น ท่านต้องเข้าใจคอนเซ็ปของงานวิจัยของท่านก่อนว่า ต้องการจะแก้ไขปัญหาเรื่องอะไร ตัวอย่างที่ได้รับความนิยมคือพฤติกรรมของผู้บริโภค หรือพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องรองรับอย่างเพียงพออยู่แล้ว
“ปัญหาส่วนใหญ่ในสังคมหรือในเศรษฐกิจ ทุกอย่างนั้นเกิดจากมนุษย์ทำให้เกิดขึ้น”
ดังนั้นสิ่งที่เป็นปัญหาจริงๆ จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาหรือทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคหรือพฤติกรรมของมนุษย์ หากท่านสามารถเข้าใจปัญหาที่แท้จริงแล้ว จะทำให้ท่านทราบว่าปัญหาที่ท่านจำเป็นต้องแก้ไขนั้นจะต้องโฟกัสไปที่ใด และควรจะใช้เครื่องมือ วิธีการ เนื้อหา แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องอะไรบ้างเพื่อนำมาแก้ไขปัญหาดังกล่าว
2. ใครมีปัญหานี้บ้าง
หลังจากที่ท่านทราบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคืออะไร อย่างไรแล้ว ควรจะโฟกัสต่อว่าในปัจจุบันปัญหานี้เกิดขึ้นกับใครบ้าง โดยเฉพาะองค์กร หรือมนุษย์ หรือกลุ่มคณะบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ ซึ่งจะทำให้ท่านทราบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ท่านจำเป็นจะต้องเข้าไปทำการศึกษา หรือกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องนั้นคือใครบ้าง เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นขอบเขตสำหรับทำการศึกษาวิจัยต่อไป
การที่รู้ว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลกระทบต่อฝ่ายไหน อย่างไรบ้าง จะทำให้ท่านทราบว่าควรจะกำหนดงานวิจัยของท่านนั้นเป็นเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพ
งานวิจัยเชิงปริมาณนิยมสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับผลกระทบเพียงกลุ่มเดียว เช่น กลุ่มผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากคุณภาพการของสินค้าหรือการให้บริการ แต่หากว่าปัญหาดังกล่าวส่งผลเสียหรือส่งผลกระทบต่อบุคคล คณะบุคคล หรือกลุ่มองค์กรหลายกลุ่ม จำเป็นที่จะต้องใช้ในการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเข้ามาประยุกต์ใช้ในการวิจัย
3. ต้องทำอย่างไร
เมื่อรู้ว่าปัญหาคืออะไร กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบนั้นคือใคร จะทำให้ท่านทราบว่ากระบวนการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจะต้องกำหนดแนวทางในการแก้ไขอย่างไร เพื่อนำเสนอได้ตอบโจทย์กับปัญหา และตอบสนองกับความต้องการของทุกฝ่ายได้
โดยเฉพาะการวิจัยเชิงปริมาณที่เป็นการสัมภาษณ์จากกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่จะให้ข้อเสนอแนะในการที่จะแก้ไขปัญหาของการวิจัยดังกล่าวจากมุมมองของตนเอง ซึ่งจะทำให้ท่านนำหลากหลายมุมมองที่ได้รับมาบูรณาการเพื่อเสนอเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างไรบ้าง จะทำให้ท่านนำเสนอผลของการวิจัยได้ตอบสนองกับแต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสมและชัดเจนมากยิ่งขึ้น
4. ใครได้รับประโยชน์
หลังจากที่ท่านรู้ว่าปัญหาคืออะไร ส่งผลกระทบต่อใครบ้าง และควรใช้วิธีการอย่างไร ท่านจะทราบว่าหลังจากที่ปัญหาได้รับการแก้ไขแล้วใครจะได้รับประโยชน์บ้าง ซึ่งสิ่งที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดจากวิธีการแก้ไขปัญหาจากผลลัพธ์ของการวิจัยครั้งนี้ จะถือเป็นสิ่งที่ต่อยอดให้กับวงการวิชาการเป็นอย่างมาก
เนื่องจากการพัฒนาต่อยอดหรือบูรณาการจากเทคนิคผลการวิจัยที่ท่านทำการศึกษาวิจัยไปเรียบร้อยแล้วนั้นจะสามารถต่อยอดพัฒนาแก้ไขในองค์กรอื่นๆ หรือพื้นที่อื่นๆ ได้ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับปัญหาที่ใกล้เคียงหรือสอดคล้องกับปัญหาที่ท่านทำการศึกษาวิจัย
ดังนั้นหากท่านสามารถรู้ว่าปัญหาของการทำวิจัยของท่านนั้นคืออะไร มีวิธีการแก้ไขอย่างไร มีผลกระทบต่อใคร และใครจะได้รับประโยชน์บ้าง จะทำให้ท่านรู้ว่าควรจะกำหนดรูปแบบของการวิจัยอย่างไร เพื่อให้เหมาะสมกับการศึกษาทำงานวิจัยของท่าน และสามารถทำให้งานวิจัยนั้นสำเร็จลุล่วงไปได้โดยดี
ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)