เขียนโครงร่างงานวิจัย ไม่ยาก ด้วย 3 เทคนิคง่ายๆ
การเขียนโครงร่างงานวิจัย เป็นสิ่งที่ผู้วิจัยมือใหม่จำเป็นที่จะต้องเขียน เพื่อนำเสนอ concept ของการทำการศึกษาวิจัย
โดยเฉพาะการทำการศึกษาวิจัยที่มีรูปแบบของงานวิจัยที่เป็นเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพที่จะใช้ในการศึกษาวิจัย ทั้งนี้การที่จะเขียนโครงร่างงานวิจัยให้ง่าย มีเทคนิคด้วย 3 ขั้นตอนต่อไปนี้
1. รู้จักรูปแบบของการทำวิจัย
รูปแบบของการวิจัยเป็นสิ่งที่กำหนดทิศทางในการที่จะทำการศึกษาวิจัยของผู้วิจัยหัวข้อวิจัยดังกล่าว โดยเฉพาะสิ่งที่นิยมในปัจจุบัน คือ รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณหรือรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพที่มักจะได้รับความนิยมในการที่จะเป็นรูปแบบหลักของการศึกษาวิจัย
โดยเฉพาะรูปแบบงานวิจัยที่เป็นรูปแบบงานวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากว่าการทำวิจัยเชิงปริมาณ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้โปรแกรมสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ซึ่งนำเสนอผลลัพธ์เป็นรูปแบบของกราฟตัวเลขหรือสถิติที่สามารถอ้างอิง หรือนำเสนอได้อย่างเข้าใจง่ายกว่านำเสนอเป็นรูปแบบงานวิจัยเชิงคุณภาพที่เป็นเนื้อหาทั้งหมดที่ขาดความน่าสนใจ
อาจจะกล่าวได้ว่าการนำเสนอรูปแบบงานวิจัยเชิงปริมาณในปัจจุบัน สามารถทำให้เกิดการสื่อสารที่เข้าถึงได้ง่ายกว่า จึงได้รับความนิยมในปัจจุบัน
ดังนั้นหากท่านต้องการเขียนโครงร่างงานวิจัย จำเป็นที่จะต้องนึกถึงรูปแบบของการวิจัย ว่า งานวิจัยของท่านนั้น ควรจะเป็นรูปแบบงานวิจัยเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพ เพื่อให้เหมาะสมกับการเขียนโครงร่างและกำหนดขอบเขตที่เกี่ยวข้องในการเขียนโครงร่างอย่างเหมาะสมต่อไป
2. รู้จักแหล่งข้อมูลที่จะทำมาใช้ในการเขียนโครงร่าง
การรู้จักแหล่งข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการเขียนเค้าโครงร่าง เป็นสิ่งที่ผู้วิจัยมือใหม่จำเป็นที่จะต้องกำหนดขอบเขตก่อนเลยว่าแหล่งข้อมูลที่จะใช้ในการวิจัยนั้นจะมาจากแหล่งข้อมูลใด เช่น ห้องสมุด หรือแหล่งข้อมูลฐานข้อมูลที่เป็นวิทยานิพนธ์วิจัยออนไลน์ที่มหาวิทยาลัย หรือสถาบัน หรือศูนย์การวิจัยต่างๆมีเผยแพร่ทางออนไลน์
ซึ่งถ้าหากท่านสามารถกำหนดขอบเขตได้แล้วว่าแหล่งข้อมูลใดเป็นแหล่งข้อมูลหลักในการที่จะศึกษาค้นคว้าในการที่จะใช้เขียนโครงร่างงานวิจัยได้แล้ว จะทำให้ท่านรู้ว่าควรจะโฟกัสเป็นที่แหล่งข้อมูลใด และใช้เทคนิคใดในการสืบค้นที่เหมาะสมกับการนำเนื้อหามาเขียนโครงร่างการวิจัยได้อย่างไร
โดยเฉพาะปัจจุบันนั้นมีการนิยมเป็นอย่างมาก ในการที่จะนำแหล่งข้อมูลออนไลน์มาใช้ในการสืบค้นข้อมูล เพื่อเขียนประกอบการเขียนโครงร่างงานวิจัย ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้สะดวก และประหยัดเวลามากกว่าที่จะต้องเข้าไปในห้องสมุด เพื่อนำข้อมูลมาใช้การเขียนโครงร่าง
3. รู้จักประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
การเขียนโครงร่างงานวิจัยที่ดี จะต้องรู้ว่ากลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่างของการศึกษาครั้งนี้นั้น คือ ใครและอยู่ที่ไหน เพื่อที่จะกำหนดได้อย่างชัดเจนว่ากลุ่มตัวอย่างนี้จะให้ความร่วมมือในการที่จะตอบแบบสอบถามของเราหรือไม่
เนื่องจากว่าปัจจุบันการเข้าถึงกลุ่มตัวอย่าง ล้วนแล้วแต่มีความลำบากในการที่จะขอความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม หรือตอบแบบสัมภาษณ์
ซึ่งถ้าท่านไม่สามารถทราบได้ว่ากลุ่มประชากร และกลุ่มตัวอย่างของท่านเป็นใคร ก็จะทำให้ท่านไม่รู้ว่าวิธีการที่จะเข้าถึงประชากร และกลุ่มตัวอย่างของท่านนั้นควรวิธีอย่างไร และจะไม่สามารถทราบกำหนดขอบเขตจำนวนที่แน่นอนได้ว่าควรจะข้อความร่วมมือในการเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างของท่านได้อย่างไร
สำหรับเทคนิค 3 ขั้นตอนที่กล่าวไปข้างต้นนี้ เป็นสิ่งที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการเขียนโครงร่างงานวิจัยของท่านให้ดียิ่งขึ้นได้
ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)