5 อุปสรรคในการทำงานวิจัย ของผู้วิจัยมือใหม่
เมื่อใกล้จะสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท หรือปริญญาเอก ผู้เรียนจะต้องเข้าสู่โหมดการทำงานวิจัย งานวิทยานิพนธ์ หรืองานดุษฎีนิพนธ์ มีหลายคนที่โชคดีสามารถทำงานวิจัยได้ด้วยตนเอง ราบรื่นจนจบเล่ม
แต่ก็มีอีกหลาย ๆ คน ที่กำลังรู้สึกหม่นหมองเป็นทุกข์ ไม่สามารถทำงานวิจัยเองได้ ด้วยเพราะต้องเจอปัญหาและอุปสรรคหลายอย่าง ทำให้การทำงานวิจัยไม่ราบรื่น และไม่สำเร็จเสียที ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องปกติสำหรับนักวิจัยที่จะต้องเจอ
และหากเป็นนักวิจัยมือใหม่ด้วยแล้วยิ่งเป็นเรื่องปกติมากกับการที่รู้สึกว่าที่จับต้นชนปลายไม่ถูก ทำให้ไม่มีความสุขในการทำงานวิจัย งั้นเราลองมาค่อยๆ พิจารณาถึงปัจจัยที่เป็นปัญหาและอุปสรรคในการทำงานวิจัยว่ามีอะไรบ้าง และผู้วิจัยมือใหม่ควรแก้ไขอย่างไร
อุปสรรคที่จะทำให้ผู้เรียนหรือผู้วิจัยมือใหม่ทำงานวิจัยไม่สำเร็จเสียที จะมีอะไร แล้วจะแก้ไขปัญหาอย่างไรได้บ้าง
– ขาดความพร้อมในการทำงานวิจัย
เริ่มแรกผู้เรียนหรือผู้วิจัยมือใหม่ส่วนใหญ่ ไม่เคยผ่านการทำงานวิจัยมาก่อน แม้จะเคยผ่านการฝึกทำรายงาน โครงงาน หรือโปรเจคมาบ้าง แต่ก็เป็นรูปแบบเล็กๆ ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งพอทำให้รู้วิธีการทำเบื้องต้น ซึ่งขั้นตอนในศึกษาค้นคว้างานวิจัยจริงๆ นั้นค่อนข้างที่ละเอียดและซับซ้อนและแตกต่างกันมาก
เมื่อคุณเริ่มก้าวสู่โหมดของการทำงานวิจัยแล้ว คุณต้องบอกตัวเองว่า คุณใกล้จะถึงเส้นชัยแห่งความสำเร็จของการศึกษา จะก้าวสู่ความเป็นผู้ใหญ่ไปอีกขั้น ดังนั้นคุณจะต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้น ต้องรู้จักบริหาร และวางแผนการทำงานวิจัยในแต่ละขั้นตอน เปิดใจในการรับฟังปัญหา ความคิดเห็น หรือคำแนะนำต่างๆ ของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อพัฒนาการทำงานในด้านต่างๆ
– ไม่มีความสามารถ
อย่างทีกล้าวไปก่อนหน้านี้แล้วว่า แม้จะเคยผ่านการทำงานวิจัยมาบ้างแล้ว แต่ก็เป็นแค่พื้นฐาน ซึ่งเมื่อถึงเวลาที่ปฏบัติจริงทำให้ผู้วิจัยหลาย ๆ คน ไม่สามารถทำงานวิจัยให้ออกมาสำเร็จได้ จึงทำให้เป็นปัญหาและอุปสรรคในการทำงานวิจัย ที่จะต้องใช้ทั้งความชำนาญ ความเข้าใจ และความสามารถในการทำงานเบื้องต้น จึงทำให้รู้สึกแย่เข้าไปอีก
แต่ในความเป็นจริง การทำงานทุกงานนั้นมีการปรับเปลี่ยนได้ ก็เหมือนกับการตั้งโจทย์หรือการตั้งหัวข้องานวิจัย ที่จะไม่เหมือนกับที่เรียนมา อาจจะทำให้รู้สึกงง และสับสนในช่วงแรก ๆ จึงจำเป็นที่จะต้องใช้เวลาในการความชำนาญ และความเข้าใจ
– ไม่ชำนาญในการทำงานวิจัย
เพราะงานวิจัยเป็นงานที่มีกระบวนการในการศึกษาที่ละเอียดและซับซ้อน อีกทั้งแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการสืยค้นจะต้องเป็นแหล่งที่น่าเชื่อถือ และมีน้ำหนักมากพอในการทำการศึกษา จึงเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งต่อผู้วิจัยมือใหม่หลาย ๆ ท่าน ที่ไม่ชำนาญและไม่เคยทำมาก่อน ทำให้ร้สึกว่ามันยากเกินไป
แต่เมื่อคุณลงมือทำมันไปได้สักระยะหนึ่ง คุณจะเริ่มจัดระเบียบความคิด และลำดับขั้นตอนในการทำได้ ว่าควรจะทำจากส่วนไหนก่อนดี ซึ่งเทคนิคในการทำงานวิจัยคุณไม่จำเป็นไล่เรียงตามลำดับ คุณอาจจะทำส่วนที่เป็นเนื้อหาที่เยอะก่อนได้ นั่นก็คือ บทที่ 2 แล้วค่อยกลับมาทำ บทที่ 1, 3, 4 และ 5 จะช่วยทำให้คุณทำงานวิจัยได้อย่างสบายใจขึ้น
– ขาดกำลังใจ
เป็นธรรมดาเมื่อต้องเจองานยาก ๆ อาจจะทำให้คุณรู้สึกท้อแท้และหมดกำลังใจ จนคิดว่าไม่ความสามารถทำมันให้สำเร็จได้อย่างที่ต้องการ หากความรู้สึกนี้เกิดขึ้น คุณควรจะเติมความมั่นใจให้ตัวเองให้เต็ม และหมั่นเติมอยู่เรื่อยๆ อย่าปล่อยให้ความรู้สึกขาดกำลังใจมาบั่นทอนการทำงานวิจัยของคุณ
– ไม่กล้าตัดสินใจ
เพราะขาดความชำนาญในการทำงานวิจัย และความสามารถ จึงทำให้บางครั้งไม่กล้าตัดสินใจในขั้นตอนต่าง ๆ ทำให้กระบวนการวิจัยต้องหยุดชะงัก ไม่สามารถเดินหน้าต่อได้
แต่ปัญหานี้แก้ไขได้ไม่ยาก เมื่อเจอปัญหาต่างๆ ให้คุณคิดทางออกไว้เผื่อเสมอ อาจจะเป็น 2 – 3 ทางออก ถึงแม้อาจจะเป็นทางออกที่ไม่ค่อยถูกต้อง แต่ก็อาจจะดีกว่าหากเจอปัญหาจริง ๆ แล้วไม่มีทางออกไว้สำหรับแก้ไขปัญหาเผื่อไว้เลย
ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)