แค่ปรับแนวคิด ความสำเร็จในงานวิจัย ก็อัพขึ้นเป็น 2 เท่า!!!
การทำงานวิจัย สิ่งที่ยากคือ การรับมือกับ “อาจารย์ที่ปรึกษาวิจัย” เพราะ…
“อยากทำงานวิจัยเกี่ยวกับหัวข้อที่ถนัด แต่กลัวจะมีปัญหากับอาจารย์ที่ปรึกษา”
“อาจารย์ที่ปรึกษาไม่ค่อยมีเวลาให้ เข้าถึงก็ยาก… ทำไงดี กลัวงานไม่เสร็จ เรียนไม่จบ”
“แก้งานแล้ว แต่ยังให้กลับมาแก้เพิ่มอีก และคอมเม้นท์ครั้งนี้ไม่เหมือนกับครั้งที่แล้วด้วย”
นี่เป็นความคิดที่ผู้วิจัยหลายๆ ท่านนั้นรู้สึกและคิดอยู่เสมอ เพราะเกิดจากความกลัว ความกังวล ความเครียด และปัจจัยหลายๆ อย่างที่ส่งผลต่อการทำงายนวิจัยที่ท่านมักคิดไปก่อน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นมุมมองความคิดที่ทางเราขอแนะนำให้ท่านปรับความคิดเสียใหม่ หากว่าท่านอยากจะทำงานวิจัยให้สำเร็จโดยเร็ว
ในการทำงานวิจัย “อาจารย์ที่ปรึกษาวิจัย” เป็นบุคคลที่ท่านไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะผู้ที่มีความรู้ในเรื่องของกระบวนการวิจัย มีประสบการณ์ในการทำวิจัย และสามารถถ่ายทอดทักษะการทำวิจัยให้กับนักศึกษาได้
แต่หากท่านไม่สามารถเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาที่เหมาะสมกับตัวท่านเองไม่ได้ เรามีวิธีแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้กับท่าน เพียงแค่ปรับแนวคิดความสําเร็จในการทําวิจัยก็เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
ต้องเข้าใจก่อนว่า ท่านไม่ใช่เป็นเพียงแค่บุคคลเดียวที่กำลังเจอปัญหาที่เผชิญอยู่ในปัจจุบัน และการทำงานวิจัยนั้นไม่ใช่เรื่องยากเกินไป ในเมื่อคนอื่นๆ ทำจนประสบความสำเร็จได้ ท่านเองก็ทำได้เช่นเดียวกัน
ในเมื่อสิ่งท่านคิดว่ายากที่สุด คือ การรับมือกับอาจารย์ที่ปรึกษา ฉะนั้นสิ่งแรกที่จะทำให้หากท่านสามารถลดขั้นตอนหรือลดระยะเวลาที่จะล่าช้าในการทำงานวิจัยได้ คือ
“เลือกอาจารย์ที่ปรึกษาที่เหมาะสมกับแนวทางการทํางานของท่าน”
ท่านต้องเปลี่ยนแนวคิดก่อนเลยว่า ท่านไม่ได้ทํางานวิจัยเป็นครั้งแรก แต่กําลังได้รับคําแนะนําจากอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นครั้งแรก ดังนั้น แต่ละฝ่ายก็ต่างเจอกันเป็นครั้งแรก
ซึ่ง ครั้งแรกของแต่ละคนก็จะเสียระยะเวลาในการที่จะต้องปรับตัวเข้าหากัน แต่ถ้าหากท่านสามารถลดระยะเวลาในการปรับตัวในการเข้าหาอาจารย์ที่ปรึกษาได้ ท่านอาจจะต้องเริ่มเปลี่ยนจากการแนวคิด หรือการเข้าหาอาจารย์ที่ปรึกษาของท่าน โดยเริ่มต้นที่ปรับความคิดของตัวท่านเองก่อนเป็นอย่างแรก
“ไม่มีอะไรที่ยาก หากเริ่มต้นที่จะเรียนรู้”
การเรียนรู้การทําวิจัย คือ การพัฒนาตนเองปรับกระบวนการแนวคิดของตนเอง เพื่อให้สอดคล้องกับการทําวิจัยที่ท่านกําลังดําเนินการอยู่
การที่ท่านสามารถปรับแนวคิดของตนเองให้สอดคล้องกับกระบวนการทําวิจัยในหัวข้อปัจจุบันได้ ท่านเพียงแค่ทําความเข้าใจกับหัวข้อที่ท่านทำการศึกษาในปัจจุบันก่อน จะทำให้ทราบแนวทางที่ท่านจําเป็นที่จะต้องดําเนินการ และวิธีการรับมือสำหรับการแก้ไขปัญหาในระหว่างการทำงานวิจัย ให้สําเร็จลุล่วงไปได้อย่างแน่นอน
“ที่ปรึกษาวิจัยมีไว้ให้คําปรึกษา”
หลายครั้งที่ผู้เรียนหรือผู้วิจัยเกรงใจอาจารย์ที่ปรึกษาและไม่กล้าเข้าพบอาจารย์ที่ที่ปรึกษาวิจัย เพราะว่าอาจารย์แต่ละท่านนั้นมีภาระงานที่ไม่สอดคล้องกับเวลาที่ท่านต้องการขอคำปรึกษา
อยากจะแนะนําว่า “กรุณาทําใจกล้าเข้าไว้” ท่านต้องเข้าใจก่อนว่า อาจารย์ที่ปรึกษามีหน้าที่ให้คำปรึกษาและแนะนำ ซึ่งเป็นหน้าที่ที่แต่ละคนนั้นต้องปฏิบัติ
ดังนั้น ตัวท่านเองก็ควรจะปฏิบัติตามหน้าที่เช่นกัน คือ จะต้องขอคําแนะนําจากอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นเความรู้ในเรื่องของกระบวนการวิจัย ทักษะการทำงานวิจัย โดยท่านจะต้องกำหนดประเด็น หรือมีขอบเขตที่ชัดเจนในการเข้าขอคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อที่ทำให้งานวิจัยสำเร็จลุล่วงไปได้เร็วยิ่งขึ้น
ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)