3 แนวคิด ที่จะเปลี่ยนความคิดในการทำงานวิจัยให้สำร็จเร็วขึ้น
ในขั้นตอนการทำงานวิจัย สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ผลลัพธ์ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพที่เป็นตัวชี้วัดแล้ว ยังมีอีกสิ่งนึงที่เป็นตัวกำหนดในการชี้วัดของการทำงาน คือ ระยะเวลา ที่ใช้ในการศึกษาจะต้องสอดคล้องกับกระบวนการทำงาน สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
ซึ่ง หากคุณทราบหลักวิธีในกระบวนการคิด การทำงานวิจัยแต่ละครั้งจะไม่ยากอีกต่อไป…
และในเนื้อหาต่อไปนี้ ขอเสนอ 3 แนวคิด ที่จะเปลี่ยนความคิดของคุณเพื่อให้การทำงานวิจัยได้ง่ายและเร็วยิ่งขึ้น
1. ใช้ตัวแปรที่มีคนศึกษามาก่อนแล้ว
การใช้ตัวแปรที่มีคนศึกษามาก่อนแล้ว จะทำให้คุณมีข้อได้เปรียบ คือ มีตัวแปรที่ได้ทำการสังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องไว้เรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะ แบบสอบถาม ที่สอดคล้องกับตัวแปรดังกล่าวจากเล่มงานวิจัยที่มีคนศึกษาไว้แล้วนี้ จะทำให้คุณสามารถประหยัดระยะเวลาที่จะดำเนินการศึกษาวิจัยไปได้
และ ตัวแปรที่คุณควรศึกษาไม่ควรศึกษาเฉพาะที่เป็นงานวิจัยในประเทศอย่างเพียว คุณจะต้องทำการศึกษาตัวแปรจากงานวิจัยต่างประเทศด้วย เพราะงานวิจัยของต่างประเทศจะไม่ส่งผลต่อเนื้อหาที่มีไว้แล้วในประเทศไทย
เนื่องจากงานวิจัยที่แปลมาจากต่างประเทศจะมีเนื้อหาไม่ซ้ำกับงานวิจัยภายในประเทศอย่างแน่นอน ซึ่งเป็นข้อดีอย่างยิ่งที่จะทำให้งานวิจัยมีความใหม่ และสามารถอ้างอิงถึงที่มาที่ไปของตัวแปรดังกล่าวได้
อีกทั้งจะมีเครื่องมือที่ใช้งานวิจัย เช่น แบบสอบถาม หรือผลลัพธ์ที่งานวิจัยต่างประเทศนั้นได้ผลลัพธ์มาเรียบร้อยแล้ว เพียงแต่ว่าคุณนำข้อมูลดังกล่าวมาศึกษาในบริบทของประเทศไทย หรือพื้นที่ที่ใกล้เคียงกับที่คุณสะดวก หรือพื้นที่ใกล้เคียงกับองค์กรที่คุณทำการศึกษาอยู่ ซึ่งจะส่งผลดีเป็นอย่างยิ่งหากคุณสามารถหยิบยกตัวแปรที่มีคนศึกษาไว้แล้วมาประยุกต์กับงานวิจัยของคุณได้
2. ใช้ทฤษฎีที่มีข้อมูลรองรับจำนวนมาก
ผู้วิจัยมือใหม่หลายคุณนั้นมักจะคิดเองไปก่อนว่า การศึกษาเรื่องนี้น่าจะมีแนวคิด หรือทฤษฎีที่รองรับอยู่ จำนวนมาก แต่ทว่าความเป็นจริงแล้วอาจจะไม่ใช่อย่างนั้น
เพราะว่าหลายครั้งที่ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ล้าสมัย ซึ่งในปัจจุบันไม่มีความนิยมในการศึกษาประเด็นดังกล่าว หรือไม่มีความนิยมในการที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว เนื่องจากว่าเป็นปัญหาที่มีผลลัพธ์หรือวิธีการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจนอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาซ้ำอีก
สิ่งสำคัญเป็นอย่างแรกที่อยากจะให้นึกถึงในกรณีดังกล่าวนี้ คือ การทำการศึกษาแต่ประเด็นใหม่ๆ ที่มีข้อมูลรองรับเพียงพอ และจะต้องเป็นข้อมูลที่ไม่ล้าสมัย จำให้ดีว่าการใช้งานวิจัยที่ดีที่สุด คือ ข้อมูลที่ทันสมัย
3. ใช้การวิเคราะห์ที่ตนเองถนัด
ในการทำงานวิจัยคุณจะได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษาว่าควรใช้งานวิจัยเชิงปริมาณมาประยุกต์ใช้ในงานวิจัยดังกล่าว หรือใช้เชิงคุณภาพ แต่อยากจะให้คุณคิดถึงความถนัดของตัวเองด้วยว่า การที่คุณจะถนัดสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น คุณควรจะบอกกับอาจารย์ที่ปรึกษาตั้งแต่แรกว่าคุณถนัดในงานวิจัยรูปแบบใด
เช่น งานวิจัยเชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพ เพื่อที่จะให้อาจารย์ที่ปรึกษารับทราบว่าคุณถนัดรูปแบบไหน และให้อาจารย์ที่ปรึกษาปรับคำแนะนำให้สอดคล้องกับความถนัดของคุณ
คุณต้องจำไว้ก่อนเลยว่าการทำงานวิจัยเป็นการริเริ่มผลงานวิจัยของตัวคุณเอง ไม่ใช่ผลงานของอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ที่ปรึกษามีหน้าที่ให้คำแนะนำ เพื่อให้คุณประหยัดเวลาที่ใช้ในการทำงานวิจัย และช่วยประคับประคองให้คุณทำงานวิจัยให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
สิ่งสำคัญ คือ ตัวคุณเองที่จะต้องมีการพัฒนาตนเองจากองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้ว เพื่อที่จะพัฒนาต่อยอดในสาขาวิชา หรือพัฒนาต่อยอดในการทำงานวิจัยดังกล่าว เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามความมุ่งหวังที่คุณตั้งใจไว้
สำหรับการพัฒนาแนวคิดที่กล่าวไปทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่จะช่วยให้คุณสามารถบรรลุผลลัพธ์ของการทำงานวิจัยได้อย่างสำเร็จลุล่วงไปได้
ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)