เทคนิคการเขียนบทความสำหรับมือใหม่
การเขียนบทความ คือ งานเขียนประเภทหนึ่งที่ถูกเรียบเรียงเนื้อหาจากข้อเท็จจริง รวมถึงข้อคิดเห็นและเหตุผลที่น่าเชื่อถือของผู้เขียนที่มีต่อเหตุการณ์หรือสถานการณ์นั้นๆ ในรูปแบบภาษาที่แตกต่างกันในแต่ละประเภทของลักษณะบทความที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นๆ
และเพื่อให้งานเขียนบทความออกมาดี และมีความน่าดึงดูดใจ คุณควรทำการกำหนดแนวทางในการเขียนบทความที่คุณต้องการจะเผยแพร่ ดังนี้
1. บทความเพื่อให้ข้อมูล และทำการอธิบาย
เป็นการเรียบเรียงเนื้อหาบทความที่มีลักษณะสำหรับการให้ข้อมูล ในด้านประวัติ ภูมิหลัง กระแสสังคมในปัจจุบัน หรือข้อเท็จจริงอย่างละเอียด เป็นการบอกเล่าถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นการเรียบเรียงถึงประเด็นปัญหาที่กำลังเป็นกระแสสังคม
โดยมีเนื้อหาใจความเป็นภาษาที่อ่านง่าย มีความกระชับ สามารถทำให้ผู้อ่านทั่วไปที่ไม่ได้มีความรู้ในด้านๆ นั้นเข้าใจได้อย่างชัดเจน ในขณะที่อ่านทันที
2. บทความสำหรับการรายงาน หรือกระตุ้นความสนใจ
การเขียนเนื้อหาบทความสำหรับการรายงาน เป็นการเขียนอธิบายจากการวิเคราะห์ โดยเนื้อหาพิจารณาจากการบอกเล่าเรื่องราว การสัมภาษณ์ หรือการศึกษาข้อมูล ผ่านการวิเคราะห์และคัดกรองเรียบเรียงเนื้อหา เป็นรายงานเฉพาะข้อมูลที่ผู้อ่านควรรู้
3. บทความสำหรับให้ความรู้
สำหรับบทความสำหรับให้ความรู้นั้น เป็นเนื้อหาบทความประเภทการแสดงความคิดเห็น ที่ผู้เขียนได้จากการศึกษาทั้งในทางตรงและทางอ้อม ตั้งแต่ระดับการให้เกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ไปถึงระดับความรู้ทางด้านงานวิชาการ
4. บทความสำหรับการนำเสนอแนวทางแก้ไข
ในการเขียนบทความสำหรับการนำเสนอแนวทางแก้ไขนั้นๆ เป็นการเขียนที่ผู้เขียนต้องการบรรยายถึงข้อเท็จจริง แหล่งที่มาของประเด็นปัญหา รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น พร้อมวิธีการนำเสนอแนวทางการแก้ไขในประเด็นปัญหานั้นๆ ที่มีความหลากหลาย
5. บทความสำหรับการโน้มน้าวใจ
สำหรับการเขียนบทความเพื่อการโน้มน้าวใจ เป็นการเขียนที่มีเนื้อหาบทความให้เกิดการคล้อยตาม ต้องการโน้มน้าวให้คิดตามในเรื่องที่ต้องการนำเสนอ
ส่วนใหญ่เนื้อบทความในการโน้มน้าวนี้ มักจะเป็นประเด็นเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในทางด้านสาธารณะ หรือการรณรงค์ต่างๆ เช่น การรณรงค์งดใช้ถุงพลาสติก เป็นต้น
6. บทความสำหรับการวิเคราะห์ วิจารณ์
บทความสำหรับการวิเคราะห์ เป็นการเขียนเนื้อหาที่นำเสนอข้อเท็จจริงในประเด็นปัญหาที่ผู้เขียนกำลังทำการศึกษา ให้เห็นถึงผลกระทบข้อดีและข้อเสีย โดยการกล่าวอ้างเหตุผลจากแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือในการวิเคราะห์ ในประเด็นปัญหานั้นๆ
ส่วนบทความสำหรับการวิจารณ์ โดยส่วนใหญ่เนื้อหาในบทความ จะเป็นการเขียนที่แสดงความคิดของผู้เขียนเป็นหลัก ซึ่งข้อมูลสำหรับการเขียนนั้นมาจากความรู้ หรือประสบการณ์ที่ผ่านมา หรือจากการมองเห็นประเด็นปัญหารอบด้าน เพื่อแสดงความคิดเห็นให้มีเนื้อหาที่มีความเที่ยงตรงมากที่สุด
7. บทความเพื่อความเพลิดเพลิน
เป็นการนำเสนอเนื้อหาของบทความเพื่อความเพลิดเพลิน เรียบเรียงเนื้อหาด้วยการใช้ลีลาภาษาที่ไม่เป็นทางการมากนัก เป็นภาษาที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย สร้างความผ่อนคลาย สร้างอารมณ์ขันให้แก่ผู้อ่านได้
ฉะนั้น การเขียนบทความที่ดีควรมีลักษณะเนื้อหาบทความจึงมีลักษณะสำหรับการให้ข้อมูล ในด้านประวัติ ภูมิหลัง ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อสังคม ที่มีทั้งการรายงานเพื่อกระตุ้นความสนใจ
เป็นการให้ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาค้นคว้าในเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ตลอดจนเป็นเชิงวิชาการ พร้อมวิธีการนำเสนอแนวทางการแก้ไขในประเด็นปัญหานั้นๆ หรือบทความที่ก่อให้เกิดการคล้อยตาม โน้มน้าวใจเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในทางด้านสาธารณะ หรือการรณรงค์ต่างๆ
หรือ บทความสำหรับการวิเคราะห์ วิจารณ์ข้อเท็จจริงในประเด็นปัญหาที่ผู้เขียนกำลังทำการศึกษา ให้เห็นถึงผลกระทบข้อดีและข้อเสีย ตลอดการนำเสนอเนื้อหาเพื่อความเพลิดเพลิน สร้างความผ่อนคลาย สร้างอารมณ์ขันให้แก่ผู้อ่านได้ หรือเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของผู้อ่าน และรวมถึงรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว หรือคลิปวิดีโอ เพื่อเพิ่มอรรถรสในการรับรู้มากขึ้นอีกด้วย
ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)