เคล็ดลับง่ายๆ ที่จะทำให้งานวิจัย ไม่ยากอีกต่อไป
ในขั้นตอนการทำงานวิจัยแต่ละหัวข้อเรื่อง จะมีวิธีการทำที่แตกต่างกันออกไป ในบทความนี้ เรามีเคล็ดลับในแต่ละชั้นตอนของการทำงานวิจัยให้ง่ายขึ้นกว่าเดิม และได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น
พบกับ 4 เคล็ดลับง่ายๆ ในการทำงานวิจัย ที่คุณไม่ควรพลาด ถ้าอยากทำงานวิจัยให้สำเร็จ
เคล็ดลับที่ : 1 ตั้งหัวข้องานวิจัย
การตั้งหัวข้องานวิจัยนั้น ควรเป็นหัวข้อที่คุณมีความรู้ ความสามารถในการทำงานวิจัยนั้นด้วย และการตั้งชื่อหัวข้องานวิจัยก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน ชื่อของหัวข้องานวิจัยนั้น ควรสื่อถึงสิ่งที่งานวิจัยนั้นต้องการหาคำตอบอย่างครอบคลุมด้วย
คุณควรเลือกหัวข้อให้เหมาะสมกับศักยภาพของตัวเอง ศักยภาพนั้นมีหลายด้านที่มีความเกี่ยวข้อง เช่น ความรู้ เงินทุน เวลา กำลังคน และอื่นๆ ซึ่งควรกำหนดขอบเขตของหัวข้องานวิจัยให้เพียงพอกับศักยภาพที่ตัวเองมี เพื่อให้งานวิจัยนั้นได้รับผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
เคล็ดลับที่ : 2 การตั้งสมมติฐานและการหาข้อมูล
หลังจากได้หัวข้องานวิจัยมาแล้ว คุณควรตั้งสมมติฐานว่างานวิจัยในหัวข้อเรื่องที่จะทำการศึกษา จะมีผลลัพธ์ออกมาแบบไหน โดยคำนึงจากหลักความเป็นจริง และสภาพแวดล้อมต่างๆ ในการกำหนดขอบเขตในการหาข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ซึ่ง ในขั้นตอนการหาข้อมูลนี้จะเป็นตัวบ่งบอกถึงผลการวิจัยว่าจะออกมาในทิศทางไหน ตรงกับสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ เพราะผลการวิจัยจะแปรผันตรงกับข้อมูลที่ได้มา
นอกจากจะหาแหล่งข้อมูลวิจัยที่เกี่ยวข้องให้มีความน่าเชื่อถือแล้ว คุณควรคำนึงถึงวิธีการเก็บข้อมูลงานวิจัยนั้น ว่ามีกลุ่มเป้าหมายเป็นรูปแบบใด เพื่อที่คุณจะได้สืบค้นข้อมูลงานวิจัยได้อย่างตรงจุด โดยมุ่งเป้าไปที่จุดหัวข้อที่มีความคล้ายคลึงกับงานวิจัยที่คุณกำลังศึกษา โดยดูจาก กลุ่มบุคคลที่มีอายุในช่วงที่ต้องการ ความสนใจในแบบที่ต้องการ หรือแม้กระทั่งสถานที่ในการเก็บข้อมูล เป็นต้น
เคล็ดลับที่ : 3 วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการวิจัย
ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลนี้ คือ การนำข้อมูลมาประมวลผล เพื่อให้เห็นว่าข้อมูลนั้นไปในทิศทางไหน ตรงตามสมมติฐานหรือไม่ ซึ่งมักจะนิยมทำให้ออกมาเป็นข้อมูลตัวเลข หรือข้อมูลเชิงสถิติต่างๆ ที่จะนำมาใช้ในการสรุปผลการวิจัยว่า ตรงตามสมมติฐานหรือไม่ และอธิบายถึงผลการวิจัยที่ได้ออกมาว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจนำทฤษฎีที่เกี่ยวข้องต่างๆ เข้ามาใช้อ้างอิงเพื่อทำให้งานวิจัยนั้นมีน้ำหนักมากขึ้นก็ได้
ก่อนเริ่มทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำการสรุปผลการวิจัย คุณควรเลือกใช้หรือสร้างเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับงานวิจัยนั้นๆ ในการเก็บข้อมูลงานวิจัยแต่ละอย่างก็จะมีเครื่องมือที่แตกต่างกันออกไป เช่น การทำแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ผ่านช่องทางออนไลน์ หรือแม้กระทั่งการลงสำรวจพื้นที่ ให้มีความเหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษางานวิจัย
ซึ่งหากเลือกเครื่องมือได้ถูกต้อง ผลงานวิจัยนั้นจะมีความน่าเชื่อถือสูงตามไปด้วย ซึ่งเคล็ดลับในการทำงานวิจัยนี้จะมีรายละเอียดเปลี่ยนไปตามบริบทหัวข้อเรื่องของงานวิจัยที่ทำการศึกษา
เคล็ดลับที่ : 4 เผยแพร่ หรือนำเสนอข้อมูล (Presentation)
การนำเสนอข้อมูล (Presentation) ขั้นตอน เป็นการนำสิ่งที่ได้จากศึกษางานวิจัยทั้งหมด ออกเผยแพร่ หรือนำเสนอข้อมูลสู่กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งอาจจะเป็นรูปแบบของการตีพิมพ์ หรือ เป็นเพียงการนำเสนอในที่ประชุมก็ได้
ในระหว่างการศึกษางานวิจัย คุณควรทำการเก็บรวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้น หากผลการวิจัยคลาดเคลื่อนไปจากสมมติฐานที่ตั้งเอาไว้ สิ่งนี้จะเป็นตัวบอกว่าน่าจะคลาดเคลื่อนได้จากสาเหตุใดบ้าง เพื่อนำมาใช้ในการนำเสนอให้ดูน่าสนใจ และน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
และยังเป็นประโยชน์ หากมีการเก็บข้อมูลขึ้นใหม่อีกครั้ง หรือมีการศึกษางานวิจัยในลักษณะที่เกี่ยวข้องกันอีกครั้ง จะทำให้คุณสามารุถแก้ไขปัญหา หลีกเลี่ยงข้อผิดพลาด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในแบบเดิมๆ ขึ้นอีก
แม้หลักการ ขั้นตอน วิธีการหลักๆ ของงานวิจัยนั้นจะเหมือนกันก็ตาม แต่เคล็ดลับในการทำงานวิจัยต่างๆ จะทำให้ผลการวิจัยนั้นมีความแตกต่างกันได้ ดังนั้นความใส่ใจ ความละเอียดถี่ถ้วน และความตั้งใจในการทำงานวิจัยในแต่ละครั้งจึงมีความสำคัญมาก
และในแต่ละการวิจัยก็จะมีเคล็ดลับในการทำงานวิจัยใหม่ๆ เกิดขึ้นเสมอตามสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนั้นเคล็ดลับที่ได้นำเสนอไปนั้นจึงเป็นเพียงเคล็ดลับในการทำงานวิจัยเบื้องต้นเท่านั้น
คุณสามารถนำไปต่อยอดหรือสร้างเคล็ดลับในการทำงานวิจัยใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับงานวิจัยของคุณได้ตามสถานการณ์ สถานที่ หรือเวลาในปัจจุบัน เพื่อความแม่นยำและน่าเชื่อถือของงานวิจัยนั้น
ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)