การวิเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพ

เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วสำหรับนักวิจัยว่าการวิเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพนั้น จำเป็นจะต้องใช้เวลาเป็นอย่างมากในการอ่านรวบรวมและเรียบเรียง เพื่อที่จะวิเคราะห์เนื้อหานั้นออกมาทำการสรุปสังเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอให้กับคณะกรรมการตรวจสอบ 

และในบทความนี้จะกล่าวถึง เคล็ดลับที่จะช่วยในการประหยัดระยะเวลาในการวิเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพอย่างมีแนวคิดกระบวนการทำงานที่ถูกต้อง

1. จัดหมวดหมู่ของข้อมูลจำแนกเป็นรายด้านหรือรายปัจจัย

การจัดหมวดหมู่ของข้อมูลจำแนกเป็นรายด้านหรือรายปัจจัยเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการที่จะทำงานวิจัยเชิงคุณภาพให้ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะงานวิจัยเชิงคุณภาพที่มีการใช้แบบสัมภาษณ์ หรือใช้การสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัย และเมื่อได้ข้อมูลเหล่านั้นมาแล้ว ก็จะมีการถอดความหรือถอดเทปจากการสัมภาษณ์อีกครั้ง

วิจัยเชิงคุณภาพ_งานวิจัยเชิงคุณภาพ_การวิเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพ_การทำงานวิจัย_งานวิจัย_ทำงานวิจัย_เคล็ดลับการทำงานวิจัย_บริการงานวิจัย_บริการรับทำวิจัย_บริการรับทำวิจัย.com_เทคนิคทำงานวิจัย_ปัญหางานวิจัย_ข้อผิดพลาดในการทำวิจัย_กำหนดปัญหางานวิจัย_การเลือกหัวข้องานวิจัย_การวิเคราะห์สถิติ_วิเคราะห์ข้อมูลสถิติ_การวิเคราะห์ข้อมูล
อ้างอิงจาก : www.unsplash.com

การถอดเทปหรือการถอดแบบสัมภาษณ์ที่ดีนั้นต้องมีการจัดหมวดหมู่ของข้อคำถามเอาไว้ และนำคำตอบที่ได้จากแบบสัมภาษณ์เหล่านั้นมาไว้ในข้อคำถามหรือหมวดหมู่เดียวกัน

จากนั้นเรียงลำดับรหัสข้อมูลตามเลขบุคคลที่ให้สัมภาษณ์ลำดับก่อนหลัง เพื่อที่จะสามารถเรียงลำดับข้อมูลการให้สัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญเหล่านี้ได้อย่างเป็นระบบ และสามารถนำมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว

2. วิเคราะห์บทสัมภาษณ์จำแนกเป็นรายกลุ่ม

การสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัย บางครั้งนั้นจะอาศัยการสัมภาษณ์จากกลุ่มผู้นำชุมชนหรือกลุ่มตัวแทนภาครัฐ กลุ่มตัวแทนภาคเอกชน หรือกลุ่มอื่นๆ ที่มีตัวแทนอยู่ในกลุ่มแวดวงเดียวกัน

วิจัยเชิงคุณภาพ_งานวิจัยเชิงคุณภาพ_การวิเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพ_การทำงานวิจัย_งานวิจัย_ทำงานวิจัย_เคล็ดลับการทำงานวิจัย_บริการงานวิจัย_บริการรับทำวิจัย_บริการรับทำวิจัย.com_เทคนิคทำงานวิจัย_ปัญหางานวิจัย_ข้อผิดพลาดในการทำวิจัย_กำหนดปัญหางานวิจัย_การเลือกหัวข้องานวิจัย_การวิเคราะห์สถิติ_วิเคราะห์ข้อมูลสถิติ_การวิเคราะห์ข้อมูล
อ้างอิงจาก : www.unsplash.com

การที่จะจำแนกกลุ่มต่างๆ นั้น ท่านต้องทำการกำหนดรหัสของกลุ่มข้อมูลเอาไว้ และนำข้อมูลการให้สัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญมาถอดเทปหรือถอดแบบสัมภาษณ์จำแนกออกมาแยกแยะได้เป็นรายกลุ่ม เพื่อที่จะสามารถรวมกลุ่มข้อมูลในกลุ่มเดียวกันเอาไว้ใช้ในการวิเคราะห์บทสัมภาษณ์ต่อไปได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

3. สังเคราะห์และสรุปให้เป็นวิชาการพร้อมยกตัวอย่างบทสัมภาษณ์

หลังจากที่ท่านถอดเทปแบบสัมภาษณ์ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญเรียบร้อยแล้ว ท่านต้องนำข้อมูลสำคัญเหล่านั้นมาสังเคราะห์เรียบเรียงให้เป็นภาษาวิชาการ โดยการจับประเด็นหลักจากข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ตีความเพื่อให้เชื่อมโยงกับแนวคิดหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่ได้มาเหล่านั้น รวมทั้งทำการสรุปแบบสัมภาษณ์ออกมาเป็นภาพรวมทั้งหมดจากข้อคำถามเดียวกัน

วิจัยเชิงคุณภาพ_งานวิจัยเชิงคุณภาพ_การวิเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพ_การทำงานวิจัย_งานวิจัย_ทำงานวิจัย_เคล็ดลับการทำงานวิจัย_บริการงานวิจัย_บริการรับทำวิจัย_บริการรับทำวิจัย.com_เทคนิคทำงานวิจัย_ปัญหางานวิจัย_ข้อผิดพลาดในการทำวิจัย_กำหนดปัญหางานวิจัย_การเลือกหัวข้องานวิจัย_การวิเคราะห์สถิติ_วิเคราะห์ข้อมูลสถิติ_การวิเคราะห์ข้อมูล
อ้างอิงจาก : www.unsplash.com

เมื่อทำการสรุปสังเคราะห์ข้อมูลครั้งสุดท้ายแล้ว ภาพรวมที่ออกมาจะต้องสามารถมองเห็นได้ว่ากลุ่มตัวอย่างหรือกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเหล่านี้ให้สัมภาษณ์ในทิศทางไหน และมีความสอดคล้องกันอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะนำไปสังเคราะห์ประเด็นสำคัญออกมาเป็นผลการวิจัยหลักของงานวิจัยเชิงคุณภาพชิ้นดังกล่าวได้

ดังนั้นการที่จะทำให้งานวิจัยเชิงคุณภาพสำเร็จลุล่วงไปได้ ท่านจำเป็นที่จะต้องเรียงลำดับข้อมูลที่วิเคราะห์ออกมา มีการจัดหมวดหมู่ พร้อมทั้งจัดกลุ่มเรียบเรียงนำเสนอเป็นภาษาวิชาการ เพื่อที่จะนำเสนอข้อมูลสำคัญดังกล่าวได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!