ความเครียดที่เกิดจากการทำวิจัย จะรับมือยังไงดี?
ความเครียดจากการทำวิจัยเป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้เรียนหรือผู้วิจัยหลายๆ ท่านจะต้องเจอ เพราะว่าการทำวิจัยแต่ละครั้ง จะต้องศึกษาเรียนรู้พัฒนาตนเอง หลังจากที่ได้รับคำแนะนำและกระบวนการทำวิจัยจากอาจารย์ที่ปรึกษาในแต่ละครั้ง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากหลายจะรู้สึก เหนื่อย เครียด ท้อแท้ หมดหวัง เพราะต้องนำงานกลับมาแก้หลายต่อหลายครั้ง…
แน่นอนว่าหากท่านไม่มีการพัฒนาตนเอง เพื่อปรับตัวเข้ากับอาจารย์ที่ปรึกษาหรือปรับตัวเข้ากับหัวข้องานวิจัยของท่านแล้ว จะทำให้งานวิจัยไม่คืบหน้า และอาจจะทำให้ล้มเหลวในที่สุด
“ความเครียดที่เกิดจากการทำวิจัย จะรับมือยังไงดี?”
“ไม่รู้ว่าจะเริ่มแก้ไขงานที่จุดไหนก่อนดี สับสนไปหมด…”
ฉะนั้น บทความนี้ เรามีวิธีรับมือกับการทำงานวิจัย เป็นวิธีที่ทางทีมงานของเราได้วิเคราะห์จากปัญหาที่ผู้เรียนหรือผู้วิจัยที่เข้ามาขอรับคำปรึกษาจากทางทีมงานเรา ซึ่งอาจจะช่วยลดปัญหาในการทำวิจัยของท่านให้น้อยลงได้
“ขอคำปรึกษาจากเพื่อนหรือรุ่นพี่ ที่มีที่ปรึกษาคนเดียวกัน”
การที่จะรับมือกับอาจารย์ที่ปรึกษาสิ่งที่ง่ายที่สุด คือ การสอบถามหรือขอคำปรึกษาแนะนำจากเพื่อนหรือรุ่นพี่ที่ได้เคยอยู่ภายใต้การดูแลของที่ปรึกษาท่านนี้ เพราะจะทำให้ท่านรู้ว่าแนวทางการทำงาน การให้คำปรึกษา หรือวิธีแก้ไข้ปัญหาของอาจารย์ที่ปรึกษาท่านนี้มีมีบุคลิก หรือ ทัศนคติไอย่างไร
โดยเฉพาะรูปแบบวิธีการให้คำแนะนำในการทำวิจัยแต่ละท่านนั้นมีลักษณะอย่างไร เช่น อาจารย์ท่านอาจจะให้คำแนะนำในลักษณะพูดปากเปล่า ดังนั้น วิธีแก้ไขรับมือ คือ ท่านอาจจะอัดคลิปเสียงของอาจารย์ไว้ เพื่อทบทวนข้อเสนอ และเป็นสิ่งยืนยันข้อแก้ไขในการทำงาน
“จัดตารางนัดหมาย เพื่อขอคำปรึกษาโดยตรง”
เนื่องจากอาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละท่านมีภาระหน้าที่มากมาย ทำให้การเข้าพบแต่ละครั้งนั้นค่อนข้างมีข้อจำกัด จึงทำให้ผู้เรียนหรือผู้วิจัยส่วนใหญ่เลือกใช้วิธีการติดต่อสื่อสารกับอาจารย์ที่ปรึกษผ่านทางโทรศัพท์ การส่ง Email หรือช่องทางออนไลน์ต่างๆ เพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบงานและให้คำแนะนำเพิ่มเติม ช่องทางดังกล่าว เป็นการแก้ปัญหาเบื้องต้นในการทำงานวิจัยเท่านั้น
การแก้ไขปัญหาเพื่อให้การทำงานออกมาดีนั้น สิ่งสำคัญ คือ ท่านควรจะจัดตารางนัดเพื่อเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษา เพราะการที่ได้เข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาโดยตรง จะทำให้ท่านสามารถที่จะขอคำแนะนำ ตลอดจนให้ท่านอาจารย์ที่ปรึกษาเขียนคอมเมนท์คำแนะนำลงบนเนื้อหางานวิจัยในส่วนที่จำเป็นต้องทำการแก้ไข หรือปรับเพิ่มให้มีความชัดเจนมากขึ้น
ทำให้สามารถลงมือแก้ไขงานได้อย่างรวดเร็ว เพราะสามารถสอบถามในส่วนที่ไม่เข้าได้ทันที ช่วยให้ประหยัดระยะเวลาการทำงานเป็นอย่างมาก
“ไม่มีปัญหาใด ที่ไม่มีทางแก้ไข”
เพราะด้วยขาดประสบการณ์ในการทำงานวิจัย จึงทำให้ไม่สามารถกำหนดตัวแปร ขอบเขตงาน หรือเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ ทำให้ผู้เรียนหรือผูวิจัยหลายท่านต้องรื้องานวิจัย และเริ่มทำใหม่ตั้งแต่ต้น ส่งผลให้หลายท่านเกิดความเครียด วิตกกังวล ท้อแท้ หรือบางทีถึงกับหยุดเรียนและเลิกทำกลางคัน
หรืออาจจะไม่ใช่เพราะท้อแท้ที่ทำงานวิจัยไม่สำเร็จ แต่ด้วยภาวะที่กดดันจากสิ่งแวดล้อมรอบข้าง เช่น ความกดดันจากหน้าที่การทำงานประจำวัน ความรับผิดชอบครอบครัวที่ต้องแบกรับ
ไม่ว่าปัญหาหรือข้อผิดพลาดนั้นจะเกิดจากอะไร ทางเราอยากให้ท่านจำไว้ว่า “ไม่มีปัญหาใด ไม่มีทางแก้ไข”
เพราะสิ่งที่เราสังเกตเห็นในสิ่งที่ผู้เรียนหรือผู้วิจัยแต่ละท่านมีจุดร่วมที่เหมือนกัน คือ
“แต่ละท่านคิดถึงแต่… ประเด็นปัญหาที่เจอ แต่กลับไม่คิดถึงวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดเลย”
ในการทำงานไม่ว่าจะทำงานวิจัย หรืองานในหน้าที่ล้วนแล้วแต่จะต้องมีปัญหาเข้ามาให้แก้ เพียงแต่ว่าเพราะท่านขาดประสบการณ์การในการทำงานวิจัย จึงทำให้เกิดความกังวล เนื่องจากไม่ใช่สิ่งที่ท่านจะต้องเจอและรับมือตลอดเวลา และอาจจะด้วยระยะเวลาที่ค่อนข้างจำกัดในการทำ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าตกใจ เป็นเรื่องธรรมดาที่หลายๆ คนจะตื่นกลัว และในเมื่อตอนนี้ท่านมองเห็นถึงต้นเหตุของปัญหาแล้ว การหาวิธีรับมือแก้ไขนั้นก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
สำหรับวิธีการรับมือกับความเครียดในการทำงานวิจัยที่ทางเราได้กล่าวไปนี้ ทางเราหวังว่าจะเป็นสิ่งที่จะสามารถช่วยลดความวิตกกังในการทำงานของท่านให้ลดน้อยลงได้ รวมถึงช่วยป้องกันปัญหาที่อาจจะทำให้เกิดความเครียดในการทำวิจัยของท่านได้
ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)