ความล้มเหลวของการทำวิจัย ที่นักวิจัยมือใหม่มักทำพลาด
สำหรับนักวิจัยมือใหม่ สิ่งที่มักทำพลาดและผิดพลาดกันบ่อยๆ ในการทำงานวิจัยทำให้ไม่สามารถดำเนินงานไปได้จนตลอดรอดฝั่ง จนนำไปสู่ความล้มเหลว คือ
1. การขาดการวางแผนการทำงานที่ชัดเจน
เพราะการที่ไม่มีการวางแผนการทำงานที่ชัดเจน จะทำให้ผู้วิจัยไม่สามารถที่จะประมาณการ หรือกำหนดระยะเวลา ในการทำงานวิจัยในแต่ละบทได้ว่า
จะเริ่มทำเมื่อไร? ทำอย่างไรบ้าง? ต้องทำเสร็จภายในระยะเวลาเท่าไหร่? เป็นต้น
ซึ่ง การกำหนดระยะเวลาที่จะใช้ในการทำงานแต่ละบทนั้น จะใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานที่แตกต่างกัน อาทิเช่น
บทที่ 1 จะใช้ระยะเวลาเขียนดำเนินการไม่เกิน 1 สัปดาห์ เป็นการศึกษา ทำการเรียบเรียงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหางานวิจัยดังกล่าว
ซึ่ง จะแตกต่างจากการทำงานวิจัยบทที่ 2 ที่จำเป็นจะต้องใช้เวลามากที่สุดในการทำงานวิจัย เพื่อสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
แต่ท่านไม่ได้แบ่งงาน ไม่ได้แบ่งระยะเวลาหรือวางแผน วางไว้อย่างดีเพียงพอก็จะทำให้ท่านไม่สามารถกำหนดระยะเวลาที่ต้องใช้ในการทำการวิจัยเพื่อให้เป็นไปตามกำหนดการได้
2. การเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาไม่เหมาะสมกับงานวิจัย
ในการเลือก “อาจารย์ที่ปรึกษาวิจัย” เป็นประเด็นปัญหาที่ทำให้นักวิจัยมือใหม่ส่วนใหญ่นั้น ไม่สามารถที่จะดำเนินการไปสำเร็จลุล่วงได้
เนื่องจาก อาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละท่านนั้น อาจจะติดภาระหน้าที่ในการให้คำปรึกษาวิจัยกับผู้วิจัยท่านอื่นๆ จึงส่งผลให้ไม่มีเวลาเพียงพอที่จะตรวจงานของท่าน
อีกปัญหาหนึ่ง ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยมือใหม่มักประสบพบเจอกันมาก คือ อาจารย์ที่ปรึกษาวิจัยที่ท่านเลือกนั้น ขาดความรู้ ความเข้าใจ หรือไม่มีความถนัดในหัวข้อเรื่องวิจัยที่ท่านกำลังศึกษามากเพียงพอ
จึงทำให้ต้องเปลี่ยนหัวข้อเรื่องวิจัยตามความถนัดของอาจารย์ที่ปรึกษาวิจัย ทำให้ผู้วิจัยต้องคล้อยตามท่านในช่วงแรก แต่ถ้าว่าเมื่อไม่สามารถหาแหล่งที่จะสืบค้นข้อมูลได้ หรือว่ามีความเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้น อาจจะทำให้การติดต่อประสานงานระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาวิจัยกับท่านไม่สามารถดำเนินงานไปได้ด้วยดีในที่สุด
3. การเลือกหัวข้อในการทำงานวิจัยไม่เหมาะสมกับตัวผู้วิจัย
ข้อนี้เป็นสิ่งที่ทำให้นักวิจัยมือใหม่ส่วนใหญ่มักจะ “ตายน้ำตื้น”
เนื่องจาก เมือเสนอหัวข้อเรื่องวิจัยต่ออาจารย์ที่ปรึกษาไปแล้ว ทางอาจารย์ที่ปรึกษาวิจัยได้ทำการปรับหัวข้อเรื่องวิจัยมาให้ใหม่ ส่งผลให้ท่านต้องปรับแก้ตาม เพื่อที่จะทำให้งานวิจัยเสร็จเร็วที่สุด
แต่ถ้าว่า การที่ผู้วิจัยนั้นเลือกทำหัวข้อเรื่องวิจัยที่ตนเองไม่มีความถนัดนั้น มีข้อเสียคือ ท่านขาดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาข้อมูลงานวิจัยนั้นๆ มากพอ หรือการที่จะสืบค้นแหล่งข้อมูลเนื้อหาที่เกี่ยวกับหัวข้อเรื่องวิจัยที่ท่านทำได้อย่างเพียงพอ หรืออาจจะต้องใช้เวลาในการสืบค้นข้อมูลเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนด
อีกทั้งการที่ท่านเลือกหัวข้อที่ตนเองขาดความถนัดนั้น จะทำให้ขาดความมั่นใจในตอนที่ทำการนำเสนองานต่อคณะกรรมการ เมื่อคณะกรรมการตั้งคำถามที่มีความเชื่อมโยงหรือเกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่ท่านทำ
เพราะท่านขาดความรู้เพียงพอในหัวข้อเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนั้นๆ ส่งผลให้ไม่สามารถตอบคำถามที่ดีได้อย่างเพียงพอหรือว่าน่าเชื่อถือ ทำให้การนำเสนองานวิจัยส่วนใหญ่ที่ทำการสอบใน 3 บทไม่ผ่าน
หรือจำเป็นต้องมาเปลี่ยนหัวข้อเรื่องวิจัยภายหลัง ทำให้ต้องเสียเวลาที่จะต้องเริ่มทำงานวิจัยในหัวข้องเรื่องใหม่ หรือในที่สุดอาจจะท้อใจในการทำงานวิจัยให้สำเร็จก็เป็นได้
4. ไม่สามารถที่จะกำหนดกลุ่มประชากรตัวอย่างได้อย่างชัดเจน
หากทำการกำหนดกลุ่มประชากรตัวอย่างสำหรับงานวิจัยได้อย่างไม่ชัดเจน จะส่งผลให้คำตอบที่จะได้รับจากการทำงานในหัวข้อเรื่องวิจัยนั้น เกิดการคลาดเคลื่อน และไม่มีความน่าเชื่อถือตามหลักของงานวิจัยเชิงวิชาการได้
ท่านจะต้องทำการระบุได้ว่า กลุ่มประชากรตัวอย่างในงานวิจัยคือใคร มีคุณสมบัติอย่างไร ต้องใช้จำนวนเท่าไหร่ และจะใช้สูตรคำนวณอะไรในการวิเคราะห์ข้อมูล ว่าจะเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ หรือว่างานวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นต้น
5. งานวิจัยหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการศึกษาเรื่องวิจัยนั้นเก่าเกินไป
ในปัจจุบันการสืบค้นข้อมูลงานวิจัย แนวคิดหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องที่ใช้ในการสนับสนุนอ้างอิงงานวิจัย ควรเป็นงานวิจัยที่มีการศึกษาค้นคว้าล่าสุดไม่เกิน 5 – 10 ปี
เพราะกระแสสังคม และการพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่ผลันเปลี่ยนได้เร็วขึ้นทำให้ง่ายต่อการสืบค้นข้อมูลงานวิจัย แต่ถ้าหากทำการตั้งหัวข้อวิจัยโดยที่ไม่ทำการศึกษางานวิจัย แนวคิดหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องก่อน อาจจะทำให้เกิดปัญหาคือ ไม่สามารถสืบค้นงานวิจัยที่จะนำมาอ้างอิงข้อมูลที่เป็นปัจจุบันได้
ฉะนั้น ควรทำการศึกษางานวิจัย แนวคิดหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องที่มีเนื้อหาข้อมูลที่ไม่เกิน 5 – 10 ปี ให้สอดคล้องกับหัวข้อเรื่องวิจัย เพื่อใช้ในการสนับสนุนเนื้อหาข้อมูลงานวิจัยให้มีความเป็นปัจจุบัน
และน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นสำหรับ “ความล้มเหลว 5 ประการที่นักวิจัยมือใหม่มักทำพลาด” ที่กล่าวไปข้างต้นนี้ เป็นสิ่งที่นักวิจัยมือใหม่ ที่ยังขาดประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญในการทำงานวิจัย ที่มักจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดกันบ่อยๆ
ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)