5 แนวทางในการกำหนดปัญหางานวิจัย

ในการทำงานวิจัย ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยประเภทใดก็ตาม ในขั้นตอนแรกผู้วิจัยจะต้องมองเห็นถึงปัญหาในการเพื่อทำการศึกษา หรือค้นคว้าข้อเท็จจริงก่อน สำหรับการกำหนดปัญหางานวิจัยเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้ทำงานวิจัย มั่นใจว่าสามารถทำการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาในเรื่องนั้นให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

โดยเฉพาะผู้วิจัยมือใหม่นั้น เป็นปัญหาสำคัญอย่างมาก เพราะ ไม่รู้ว่าจะทำงานวิจัยเกี่ยวกับอะไร ไม่มีหัวข้อที่จะใช้ในการทำงานวิจัย หรือปัญาหางานวิจัยส่วนใหญ่ที่พบมีผู้อื่นทำแล้วมากมาย ทำให้รู้สึกว่าในการคิดหัวข้อที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับงานวิจัยนั้นเป็นเรื่องยาก 

ซึ่งปัญหาที่เกี่ยวกับการทำงานวิจัยนั้นมีอยู่มากมาย เพียงแต่ผู้วิจัยยังไม่เห็นถึงจุดนั้น ฉะนั้นบทความนี้เรามี 5 แนวทางในการกำหนดปัญหางานวิจัย สำหรับผู้วิจัยมือใหม่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณากำหนดปัญหาในการทำงานวิจัย สามารถแน่ใจว่าจะต้องทำงานวิจัยหัวข้อเรื่องนั้นได้สำเร็จอย่างแน่นอน

1. เลือกปัญหาที่ผู้วิจัยสนใจมากที่สุด

พิจารณาจากความสนใจที่เกิดจากความสงสัยในหัวข้อประเด็นปัญหานั้นในเชิงวิชาการ หรือมีความคาดหวัง ความปรารถนาที่ต้องการทำการศึกษาและต้องการหาคำตอบงานวิจัยให้สำเร็จด้วยตัวเอง 

2. คุณค่าและประโยชน์ของผลงานวิจัย

ควรทำการพิจารณาถึงคุณค่า ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์จากงานวิจัยนั้นมีคุณค่ามากน้อยเพียงใดในด้านต่างๆ ทำให้เกิดความรู้ใหม่ที่สามารถใช้ในการสนับสนุน โต้แย้ง หรือสร้างทฤษฎีและหลักการใหม่ๆ ได้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ปรับปรุงการใช้ชีวิตประจำวันและระบบการทำงาน สามารถตอบสนองความต้องการของบุคคลและสังคมได้

3. ความสามารถในการวิจัย

คำนึงถึงความสามารถในการทำงารวิจัยในด้านต่างๆ ว่าสามารถค้นคว้าหาความรู้ที่เกี่ยวกับปัญหางานวิจัยนั้นๆ เพิ่มเติมได้ในทุกเรื่อง มีการวางแผนสำหรับบริหารเวลาและค่าใช้จ่ายที่จะใช้ในการทำงานวิจัย หรือใช้เพื่อหาข้อมูลในปัญหานั้นๆ ได้ และสามารถทำการวิเคราะห์แปลผลข้อมูลได้อย่างเที่ยงตรงและมีประสิทธิภาพมากทีสุด

4. สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่องานวิจัย

สภาพแวดล้อมสำหรับงานวิจัยคือ มีแหล่งที่ใช้ในการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวกับปัญหาในงานวิจัย อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมสำหรับทำการวิเคราะห์แปลผลข้อมูล และการได้รับความร่วมมือจากกลุ่มประชากรตัวอย่าง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำงานวิจัยนั้นๆ 

5. ลักษณะของหัวข้อปัญหางานวิจัย

ในการกำหนดหัวข้อปัญหางานวิจัยนั้น ควรกำหนดปัญหางานวิจัยที่มีลักษณะ ดังนี้

1. เป็นปัญหาที่ไม่กว้างเกินไป 

2. มีวิธีในการแก้ไขปัญหา และแหล่งที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ที่จะใช้มาทำการวิเคราะห์แปลผลข้อมูลเพื่อตอบคำถามงานวิจัยได้อย่างชัดเจน

3. เป็นปัญหางานวิจัยที่มีประโยชน์และความสำคัญ และสามารถนำไปใช้ในการเพิ่มความรู้ใหม่ๆ หรือปรับปรุงระบบการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวันในด้านต่างๆ ได้

4. เป็นการกำหนดหัวข้อปัญหางานวิจัยที่ไม่ซ้ำกับผู้อื่น หรือในกรณีการค้นคว้าวิจัยเพื่อดูความเปลี่ยนแปลงของเรื่องนั้น หรือสามารถทำการค้นคว้าวิจัยต่อในเรื่องเดิมๆ ได้

5. ควรเป็นปัญหางานวิจัยที่ไม่ใช่ข้อถกเถียง หรือการหาข้อยุติ เพราะปัญหาประเภทนี้ไม่ควรเป็นหัวข้อปัญหาการวิจัย อาทิ การถกเถียงทางปรัชญา การเมือง หรือการแสดงความคิดเห็นที่ไม่สามารถตัดสินถูกหรือผิดได้

6. ไม่ควรกำหนดหัวข้อปัญหางานวิจัยที่ไม่สามารถสร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการทำการวิเคราะห์ได้อย่างชัดเจน

7. ควรทำการกำหนดหัวข้อปัญหางานวิจัยที่สามารถให้ผู้อื่นนำไปต่อยอดทำการวิจัยต่อได้

จากลักษณะที่ใช้ในการกำหนดหัวข้อปัญหางานวิจัยนั้น จะต้องพิจารณาให้มีความเหมาะสมกับ เวลา แรงงาน สถานการณ์ และค่าใช้จ่าย ที่ผู้วิจัยสามารถควบคุม และไม่บั่นทอนกำลังใจของผู้วิจัยอีกด้วย

ฉะนั้น แนวทางในการกำหนดปัญหางานวิจัย นับว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้วิจัยควรทำการพิจารณาในการตัดสินใจ ในการประเมินผลในทุกๆ ด้าน เพื่อให้การทำงานวิจัยนั้นๆ มีคุณภาพ และสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี

หากท่านมีอุปสรรคในการทำวิจัย สามารถจ้างทำวิจัยกับเราได้ ทางเรายินดีบริการรับทำวิจัยด้วยราคายุติธรรม

ช่องทางติดต่อ รับทำวิจัย
Tel: 0924766638
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

สแกนคิวอาร์โค้ด
เพื่อติดต่อรับทำวิจัย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!