7 ข้อที่คุณไม่ควรทำ ในการเลือกปัญหางานวิจัย
การเลือกประเด็นปัญหางานวิจัยเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะต้องมั่นใจว่าสามารถทำการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาในเรื่องนั้นให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี หากเลือกโดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสมในด้านต่างๆ อาจจะส่งผลทำให้เกิดปัญหาและความท้อในการทำงานวิจัยต่อไปได้
ดังนั้นเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น ทางเราขอเสนอ 7 ข้อควรระวังในการเลือกปัญหางานวิจัย ดังนี้
1. ไม่ควรทำการรวบรวมข้อมูลก่อน โดยที่ยังไม่ได้จำกัดความของหัวข้อปัญหาอย่างชัดเจน
ไม่ว่าจะทำงานอะไรคุณควรทำการวางแผน และกำหนดเป้าหมายในชัดเจนเสียก่อน สำหรับการทำงานวิจัยก็เช่นเดียวกัน คุณไม่ควรรวบรวมข้อมูลก่อน
เพราะข้อมูลที่รวบรวมไว้อาจไม่ครอบคลุมปัญหานั้นอย่างสมบูรณ์ได้ แต่สิ่งที่ควรทำคือ คุณควรให้คำจำกัดความของหัวข้อปัญหาอย่างชัดเจนเสียก่อน
2. ไม่ควรกำหนดปัญหางานวิจัยจากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว
ข้อที่ 2 นี้ก็เช่นเดียวกัน คุณไม่ควรทำการกำหนดปัญหางานวิจัยจากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว เพราะการที่คุณตั้งปัญหางานวิจัยจากข้อมูลที่มีอยู่เท่านั้น จะทำให้คุณได้ผลงานวิจัยที่มีแต่ประเด็นปัญหาเดิมๆ ที่ไม่แตกต่างจากงานวิจัยของผู้วิจัยอื่น
และอาจเป็นหัวข้อเรื่องที่ซ้ำกับงานวิจัยอื่นๆ หรือข้อมูลที่มีอยู่แล้วอาจมีเนื้อหาข้อมูลที่ไม่มีความสมบูรณ์ครบถ้วน ที่สามารถจะนำมาใช้อ้างอิงงานวิจัยในปัญหางานวิจัยนั้นๆ ก็ได้
3. ประเภทงานวิจัย หรือจุดมุ่งหมายหัวข้อปัญหางานวิจัยที่คาดเคลื่อน
คุณควรกำหนดลักษณะประเภทงานวิจัยให้แน่ชัด เพราะจะทำให้การกำหนดจุดมุ่งหมายในการศึกษาแหล่งของข้อมูลงานวิจัย รวมถึงการออกแบบเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและทำการวิเคราะห์แปลผลข้อมูลมีความชัดเจน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาด หรือคำตอบที่คาดเคลื่อนในการสรุปผลในงานวิจัยได้
และ “เลิกคิดว่าทุกอย่างจะออกมาดี และสมบูรณ์ที่สุด” เพราะ การที่คุณไม่ความตั้งความคาดหวังจนเกินความเป็นจริงว่าผลงานวิจัยจะต้องออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด
4. ไม่ควรตั้งปัญหางานวิจัย โดยที่ไม่ศึกษาผลงานวิจัยของผู้อื่นที่คล้ายๆ กัน
ในการกำหนดหัวข้อปัญหางานวิจัยแต่ละครั้ง หลังจากคุณทราบลักษณะประเภทของงานวิจัยแล้ว คุณควรทำการศึกษาผลงานวิจัยของผู้อื่น หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่เคยทำการวิจัยในหัวข้อประเด็นปัญหางานวิจัยคล้ายๆ กับหัวข้อปัญหาในงานวิจัยที่คุณกำลังสนใจ
5. ผู้วิจัยขาดความรู้ในสาขาวิชานั้นๆ
สำหรับข้อนี้เป็นปัญหาใหญ่สำหรับผู้วิจัยหลายๆ ท่าน คือ การขาดความรู้ในสาชาวิชานั้นๆ ซึ่ง “ความรู้” ในที่นี้คือ ขาดความรู้พื้นฐานทางทฤษฎีสำหรับหลักการทำงานวิจัยส่งผลทำให้เกิดปัญหาต่างๆ หลายอย่างตามมา
เช่น การวางแผนการทำงานวิจัย การตั้งสมมติฐาน การกำหนดวัตถุประสงค์ให้ครอบคุม การออกแบบเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการทดสอบ วิเคราะห์แปลผลข้อมูล หรือรูปแบบในการจัดวางเนื้อหางานวิจัยให้ถูกต้อง เป็นต้น
6. ไม่มีการกำหนดข้อตกลงเบื้องต้นของปัญหางานวิจัยให้ชัดเจน
การกำหนดข้อตกลงเบื้องต้น เป็นการเขียนในขั้นการวางแผนการวิจัยเช่นกัน คือการกำหนดความชัดเจนเกี่ยวกับมุมมองของนักวิจัยในการใช้เครื่องมือต่างๆ สำหรับการวิจัย
หากข้อตกลงเบื้องต้นของปัญหางานวิจัยนั้นไม่มีความชัดเจนและกระจ่าง อาจเป็นเหตุให้การวิเคราะห์แปลผลข้อมูลงานวิจัยผิดพลาดไปจากข้อเท็จจริงได้
7. ไม่ควรทำการกำหนดหัวข้อปัญหางานวิจัยกว้างมากเกินไป
หากคุณไม่จำกัดขอบเขตของหัวข้อปัญหางานวิจัยให้มีความกระชับ และชัดเจนตั้งแต่แรกจะเป็นเหตุให้การทำงานวิจัยในหัวข้อปัญหานั้นๆ ไม่จบสิ้น เพราะไม่ทราบขอบเขตในการทำงานวิจัยว่ามีมากน้อยแค่ไหน ได้อย่างชัดเจน
จาก ข้อควรระวังในการเลือกปัญหางานวิจัย นั้น สำหรับการป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นกับการเลือกปัญหางานวิจัย ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงในการเกิดปัญหาคุณควรทำการจำกัดความของหัวข้อปัญหาไว้อย่างชัดเจน จากข้อมูลงานวิจัยที่มีอยู่ก่อนและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่คล้ายๆ กัน
พิจารณาจากลักษณะประเภทงานนวิจัยเพื่อทำการกำหนดเป้าหมายหัวข้อปัญหางานวิจัยที่เพื่อไม่ให้เกิดความคาดเคลื่อนในการทำงานวิจัย ศึกษาหลักการทำงานวิจัยและรูปแบบงานที่ถูกต้องสำหรับสาขาวิชานั้นๆ ในการการกำหนดข้อตกลงเบื้องต้นของปัญหางานวิจัยให้ชัดเจน และให้อยู่ในขอบเขตข้อกำหนดปัญหาของงานวิจัย ให้สำเร็จและลุล่วงไปได้ด้วยดี
ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)