5 เทคนิค ตั้งหัวข้อวิจัย ให้ผ่านง่าย
หัวข้อวิจัย เป็นจุดแรกที่ผู้อ่านหรือผู้วิจัยที่ต้องการศึกษาวิจัยมองเป็นอันดับแรก ฉะนั้น ชื่อหัวข้อเรื่องงานวิจัย จึงมีความสำคัญเป็นอันดับแรก
หัวข้อวิจัย จะต้องเป็นชื่อที่มีความชัดเจน อ่านแล้วเข้าใจง่าย และไม่คลุมเครือ เพราะจะต้องเป็นชื่อที่สามารถดึงดูดความสนใจต่อผู้อ่าน หรือผู้วิจัยที่ต้องการทำการศึกษางานวิจัยให้เข้าใจในปัญหางานวิจัย รวมถึงวิธีการดำเนินงานวิจัยเล่มนั้นๆ อีกด้วย
พบกับ 5 เทคนิค ตั้งหัวข้อวิจัย ให้ผ่านง่าย เป็นเทคนิคที่แนะนำวิธีในการตั้งหัวข้อเรื่องงานวิจัยให้มีความเหมาะสมชัดเจน และมีความน่าในใจ
1. สั้น กระชับ และชัดเจน
ในการหัวข้อวิจัย ควรใช้คำที่มีความเฉพาะเจาะจง สามารถสื่อความหมายได้ชัดเจน และควรใช้ภาษาที่สามารถเข้าใจง่าย กระชับ โดยชื่อหัวข้อไม่ควรสั้นจนทำให้ความหมายทางงานวิชาการขาดหายไป
2. ตรงกับประเด็นของปัญหา
การตั้งหัวข้อวิจัย ควรเป็นหัวข้อเรื่องที่ทำให้ผู้อ่านหรือผู้ที่ศึกษางานวิจัยทราบได้ทันทีว่า งานวิจัยนั้นๆ ทำงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องอะไร มีเป็นประเด็นปัญหาเกี่ยวกับอะไร ดังนั้น การตั้งหัวข้อวิจัย ควรเป็นหัวข้อที่สามารถสื่อความหมายได้ตรงกับประเด็นของปัญหาได้อย่างชัดเจน
3. บ่งบอกถึงประเภทของงานวิจัยได้อย่างชัดเจน
ควรทำการตั้งหัวข้อวิจัยที่สามารถบ่งบอกถึงประเภทของงานวิจัยได้อย่างชัดเจน และเข้าใจง่ายขึ้น ซึ่งสามารถแบ่งประเภทงานวิจัยได้ 5 ประเภท ดังนี้
– งานวิจัยเชิงสำรวจ ส่วนใหญ่จะใช้คำว่า การสำรวจ หรือการศึกษา ไว้ในชื่อหัวข้อวิจัย และอาจจะมีการระบุตัวแปรร่วมด้วย เช่น การสำรวจพื้นที่ทางการเกษตรและที่อยู่อาศัยของผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่ทางภาคเหนือ หรือ การสำรวจพื้นที่ทางการเกษตรและที่อยู่อาศัยของผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่ทางภาคเหนือ เป็นต้น
– งานวิจัยเชิงศึกษาเปรียบเทียบ เป็นชื่อหัวข้อวิจัย ที่ใช้คำในลักษณะ การศึกษาเปรียบเทียบ หรือการเปรียบเทียบ ไว้นำหน้า ที่สามารถสื่อความหมายหัวข้อให้เห็นถึงความแตกต่างได้ เช่น การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล ครอบครัว และสังคมของวัยรุ่นที่กระทำผิดครั้งแรก เป็นต้น
– งานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ สำหรับงานวิจัยประเภทนี้ ส่วนใหญ่จะใช้คำหน้าชื่อหัวข้อเรื่องงานวิจัยว่า การศึกษาความสัมพันธ์ หรือความสัมพันธ์ เช่น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร เป็นต้น
– งานวิจัยเชิงการศึกษาพัฒนาการ การตั้งชื่อหัวข้อเรื่องงานวิจัยส่วนใหญ่จะใช้คำว่า การศึกษาพัฒนาการหรือพัฒนาการ ไว้หน้าชื่อหัวข้อวิจัย เช่น การศึกษาพัฒนาการด้านการเรียนรู้เด็กก่อนวัยเรียนในเขตเทศบาลเมืองนครสวรรค์ เป็นค้น
– งานวิจัยเชิงทดลอง สำหรับการตังชื่อหัวข้อเรื่องงานวิจัยในงานวิจัยประเภทนี้ เป็นการตั้งวชื่อหัวข้อที่มีความแตกต่างตามลักษณะของการทดลอง โดยใช้คำว่า การทดลอง การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การศึกษา การเปรียบเทียบ ในการนำหน้าชื่อหัวข้อวิจัย เช่น การทดลองเพาะเห็ดในจังหวัดชัยนาท, การวิเคราะห์หาปริมาณโปรตีนในหน่อไม้, หรือ การเปรียบเทียบการตอบสนองลักษณะทางสรีรวิทยา และองค์ประกอบชีวเคมีน้ำยางของยางพารา เป็นต้น
4. ปรับแต่งให้เข้ากับลักษณะของคำนาม
นอกจากจะตั้งชื่อหัวข้อวิจัยให้มีความกระชับ ชัดเจน และถูกประเภทงานวิจัยแล้ว ชื่อเรื่องควรมีควรสละสลวยและไพเราะ มีการปรับแต่งโดยใช้ลักษณะของ คำนาม นำหน้า จะทำให้อ่านได้ลื่นไหลกว่าการใช้ คำกริยา นำหน้าชื่อหัวข้อ เช่น จากคำว่า
– ศึกษา ปรับเป็น การศึกษา
– เปรียบเทียบ ปรับเป็น การเปรียบเทียบ
– สำรวจ ปรับเป็น การสำรวจ เป็นต้น
5. เป็นข้อความเรียงที่สละสลวย มีใจความสมบูรณ์
การกำหนดชื่อหัวข้อวิจัย ควรมีเนื้อหาข้อความเรียงที่สละสลวย และมีใจความที่สมบูรณ์ เป็นชื่อที่สามารถระบุได้ชัดเจน ทราบถึงจุดมุ่งหมายของงานวิจัย ตัวแปร และกลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษาวิจัยด้วย
เช่น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการสอบคัดเลือกกับเกรดเฉลี่ยสะสมและเจตคติต่อวิชาชีพครูของนิสิตมหาวิทยาลัยเจ้าพระยานครสวรรค์ ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562 เพราะ ผู้วิจัยส่วนใหญ่มักจะตั้งชื่อหัวข้อวิจัยสั้นๆ ไม่ได้ระบุรายละเอียดลงไป เช่น ทัศนคติของนักศึกษาครู เป็นต้น
จาก 5 เทคนิค ตั้งหัวข้อวิจัย ให้ผ่านง่าย การตั้งหัวข้อเรื่องงานวิจัยไม่ใช่เพียงแค่ต้องเป็นชื่อหัวข้อให้มีดึงดูดและน่าสนใจเท่านั้น แต่จะต้องเป็นชื่อหัวข้อที่สั้นกระชับ ชัดเจน มีความถูกต้องตรงกับประเด็นของปัญหา สามารถบ่งบอกถึงประเภทของงานวิจัยได้ มีเนื้อหาข้อความเรียงที่สละสลวย และมีใจความที่สมบูรณ์ ทำให้ผู้อ่านหรือผู้ที่ต้องการทำการศึกษางานวิจัยเข้าใจในปัญหางานวิจัย รวมถึงวิธีการดำเนินงานวิจัยได้ทันที
ช่องทางติดต่อ รับทำวิจัย
Tel: 0924766638
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)