ทำงานวิจัยเรื่องอะไรดี เป็นเรื่องที่ตนเองถนัด และอาจารย์ที่ปรึกษาอนุมัติให้ผ่าน
สิ่งแรกในการเริ่มทำงานวิจัย คือ “การตั้งหัวข้อวิจัย” และหัวข้อวิจัยที่ดีนั้น ควรจะเป็นหัวข้อเรื่องที่ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะทําการศึกษา หรือมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานอยู่บ้าง
โดย หัวข้อที่จะทำงานวิจัยนั้น ไม่ควรยึดติดอยู่กับสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง แต่ควรเป็นหัวข้อวิจัยที่สามารถนำไปใช้หรือขยายผลได้กับองค์กรอื่นๆ หรือเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันได้
“หัวข้อวิจัยที่ดีสามารถตั้งได้จากอะไร?”
สิ่งแรกที่ควรทำการสังเกต คือ “กระแสสังคม หรือ ปัญหาสังคม ณ ตอนนั้น” เป็นปัญหาสังคมที่มีความสอดคล้องกับความสนใจของเราหรือไม่ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการตั้งเป็นหัวข้อวิจัยได้ อ้างอิงภาพ : www.pexels.com
โดยศึกษาจาก “งานวิจัย ทฤษฎี หรือแนวคิดที่เกี่ยวข้อง” หัวข้อวิจัยที่ดี จำเป็นที่จะต้องสามารถดัดแปลงมาเป็นการศึกษาวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ การตั้งหัวข้อวิจัยจากงานวิจัย ทฤษฎี หรือแนวคิดที่เกี่ยวข้องนั้นมีส่วนช่วยในการตั้งหัวข้อวิจัยที่มีคุณภาพได้เป็นอย่างมาก
เพราะการตั้งหัวข้อวิจัยที่อยู่ในกระแสสังคมปัจจุบัน และนำมาเชื่อมโยงกับงานวิจัย ทฤษฎี หรือแนวคิดที่เกี่ยวข้อง ที่เคยได้ทำการศึกษาไว้ก่อนแล้วนั้น จะทําให้ผู้วิจัยสามารถกำหนดหัวข้องานวิจัยได้โดยง่าย
นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยจะได้จากการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากงานวิจัย ทฤษฎี หรือแนวคิดที่เกี่ยวข้องที่เราสนใจ คือ เนื้อหาข้อมูลเบื้องต้น แนวทาง หรือขอบเขตในงานวิจัย ที่จำเป็นในการศึกษาค้นคว้าจากการทำงานวิจัยมาแล้ว
“แต่… ทางเราไม่ได้หมายความว่า ให้ท่านทำการลอกเลียน หรือลอกงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเรื่องนั้นมาทำซ้ำ!!!”
“ไม่ใช่แบบนั้นนะครับ!!!”
เพราะ ในความเป็นจริงแล้ว เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้วิจัยจะทำการศึกษาวิจัยเรื่องใดก็ตาม จะสามารถคิดเองขึ้นมาใหม่ได้ทั้งหมด
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า การศึกษางานวิจัย ทฤษฎี หรือแนวคิดที่เกี่ยวข้องดังกล่าวนี้ จะทําให้ผู้วิจัยทราบเนื้อหาข้อมูลเบื้องต้น แนวทาง หรือขอบเขตในงานวิจัย ว่าควรจะดัดแปลงหัวข้องานวิจัยของเราเป็นไปในทิศทางใด เมื่อนําข้อมูลในปัจจุบัน มาเชื่อมโยงกับงานวิจัยที่เคยศึกษามาแล้ว
ซึ่ง จะทำให้เราระมัดระวังในการที่จะไม่ตั้งหัวข้องานวิจัยซ้ำกับงานวิจัยที่เคยมีการศึกษามาแล้วได้เป็นอย่างดี
จะทําให้ได้หัวข้อวิจัยรูปแบบใหม่ ที่มีความทันสมัยมากขึ้น และสามารถต่อยอดจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่เคยมีการศึกษามาบ้างแล้วได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ ก่อนจะนำหัวข้อวิจัยไปนำเสนอผู้วิจัยทุกท่านควรทำการตั้งหัวข้องานวิจัยไว้ 2-3 หัวข้อ เพื่อขอคําแนะนําจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิจัย ว่าหัวข้อดังกล่าวมีความน่าสนใจมากน้อยเพียงใด
อีกทั้งเพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาวิจัยได้ แนะนำเป็นแนวทางที่เราจะนำมาพัฒนาดัดแปลง ทำให้หัวข้อวิจัยของเรานั้นสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
สิ่งที่กล่าวไปทั้งหมดนี้ คือ จะทําให้การตั้งหัวข้อวิจัยผ่านการอนุมัติจากอาจารย์ปรึกษาได้โดยง่าย และตรงกับความสนใจของผู้วิจัยเองอีกด้วย
ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)